โซฟี ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์ก (อังกฤษ: Sophie Chotek, Countess of Chotkova and Wognin, The Duchess of Hohenbereg, เยอรมัน: Sophie Chotek, Gr?fin von Chotkova und Wognin, Herzogin von Hohenberg, เช็ก: ?ofie Chotkov? z Chotkova a Vojn?na, v?vodkyn? z Hohenbergu) (พระนามเต็ม: โซฟี มาเรีย โจเซฟิน อัลบีนา, Sophie Maria Josephine Albina von Hohenberg (ราชสกุลเดิม: Chotek)) ทรงเป็นเค้านท์เตสแห่งช๊อทโคว่าและว็อกนิน (Countess of Chotkova and Wognin) ก่อนที่จะได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งโฮเฮนเบิร์ก (The Princess of Hohenberg) หลังจากการอภิเษกสมรสกับอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย ซึ่งถือเป็นการอภิเษกสมรสนอกกฎมณเฑียรบาล ต่อมา ภายหลังได้รับพระราชทานยศสูงขึ้นไปอีกเป็น ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์ก (The Duchess of Hohenberg)
เค้านท์เตสโซฟี ประสูติเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2411 ณ เมืองสตุทการ์ต โบฮีเมีย (ปัจจุบันเป็นรัฐหนึ่งของสาธารณรัฐเช็ก) ทรงเป็นธิดาในเค้านท์โบฮัสลอว์ โชเท็คแห่งช๊อทโคว่า และ วอกนิน และ เค้านท์เตสวิลเฮล์มมีน คินสกี้แห่งวชินิตซ์ และเท็ตทอว์ ประสูติมาในครอบครัวที่ชนชั้นสูงและมีชื่อเสียงในโบฮีเมีย แต่ไม่ได้มีเชื้อพระวงศ์เลยแม้แต่น้อย แต่ถ้านับถอยหลังไปถึงรุ่นก่อนๆของบรรพบุรุษของพระนาง จะพบว่า บรรพบุรุษของฝ่ายหญิงหรือทางมารดาของพระนามนั้น ได้สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหญิงแห่งบาเดน, โฮเฮนโซเลิร์น-เฮชินเจน, และ ลิกเตนสไตน์ แต่สมัยนั้น เขาจะนับดูถอยหลังของบรรพุรุษของฝ่ายชายมากกว่า ซึ่งเป็นต้นราชสกุลนี้ ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบระหว่างครอบครัวของพระนางกับชนชั้นสูง ครอบครัวโชเท็คนี้ จะเป็นเหมือนแค่ประชาชนธรรมดาๆเท่านั้น
เมื่อพระนางเจริญพระชันษา พระนางได้เข้าไปทำงานในราชสำนักออสเตรีย โดยทรงเป็นนางกำนัลข้าหลวง ทำงานถวายรับใช้อาร์ชดัชเชสอิสซาเบลล่า ซึ่งเป็นพระชายาในอาร์ชดยุกเฟรเดอริคแห่งออสเตรีย ดยุกแห่งเทสเชน ในพระตำหนักส่วนพระองค์ที่เมืองเพรสบวร์ก (ปัจจุบันคือเมืองบราติสลาวา เมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย) ซึ่งสถานที่นั้น เป็นที่ซึ่งพระนางได้พบกับพระนัดดาของอาร์ชดัชเชสอิสซาเบลล่า ซึ่งก็คืออาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์นั่นเอง
พระนางและอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ทรงมีการติดต่อหากันอย่างลับๆ เนื่องจากเป็นการคบหากันนี้ เป็นการละเมิดกฎจารีคประเพณี พระนางได้เขียนจดหมายมาหาพระองค์ระหว่างที่พระองค์ทรงอยู่ในระยะพักฟื้นจากโรควัณโรคหลังจากเสด็จกลับจากเกาะลอว์ชิน บนทะเลอาเดรียติก ประเทศโครเอเชีย ทั้งสองได้เก็บความสัมพันธ์นี้อย่างลับๆมาเป็นเวลากว่า 2 ปี จนเมื่อทั้งราชสำนักรู้เรื่องการคบหากันของทั้ง 2 พระองค์ เนื่องจากอาร์ชดัชเชสอิสซาเบลล่าทางแอบเข้าไปในห้องบรรทมส่วนพระองค์ของอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ เพื่อจะทอดพระเนตรอัลบั้มพระฉายาลักษณ์ โดยอาร์ชดัชเชสอิสซาเบลล่าทรงหวังว่า จะให้พระธิดาของพระองค์อภิเษกสมรสกับอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ โดยพระองค์ทรงหวังว่าจะทอดพระเนตรเห็นพระฉายาลักษณ์ของพระธิดาของพระองค์ แต่กลับเห็นรูปโซฟีแทน พระองค์จึงทรงนำความไปฟ้องอาร์ชดยุกเฟรเดอริค พระสวามี และทรงปลดโซฟีออกจากตำแหน่งนางข้าหลวง ส่วนพระสวามีได้ทรงนำความที่พระชายาทูลบอก ไปทูลเกล้าต่อสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ ทำให้เรื่องราวของทั้ง 2 พระองค์ได้เลื่องลือกันทั่วราชสำนัก สมเด็จพระจักรพรรดิทรงกริ้วมาก มีพระบัญชาให้เรียกพระราชนัดดา ผู้เป็นองค์รัชทายาทมาเข้าเฝ้าพระองค์ ทั้ง 2 พระองค์ได้ทรงมีปากเสียงกันแค่เรื่องผู้หญิงคนเดียว โดยทรงกล่าวว่า พระราชนัดดาจะอภิเษกสมรสกับโซฟีไม่ได้ เพราะจะเป็นละเมิดกฎมณเฑียรบาลในเรื่องของการอภิเษกสมรสว่า To be an eligible partner for a member of the Austro-Hungarian imperial family, one must be a member of one of the reigning or formerly reigning dynasties of Europe. พระบรมวงศานุวงศ์ออสเตรีย-ฮังการีทุกพระองค์จะต้องอภิเษกสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์หรือเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ยุโรปเท่านั้น หากอภิเษกสมรสกับบุคคลที่มิได้เป็นเชื้อพระวงศ์ใดๆเลย เมื่อมีพระโอรส หรือ พระธิดา ก็จะไม่มีสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์ และจะมิได้อยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์อีกด้วย
ซึ่งโซฟีนั้น เกิดมาในครอบครัวที่มิได้เป็นเชื้อพระวงศ์แต่อย่างใด ถึงแม้ว่าบรรพบุรุษทางมารดาจะเป็นเชื้อพระวงศ์ แต่เขาจะดูในบรรพบุรุษทางบิดามากกว่า แต่เมื่อปีพ.ศ. 2512 นักประวัติศาสตร์ชาวออสเตรียคนหนึ่งได้กล่าวว่า ถ้าย้อนมองไปบรรพบุรุษทางบิดาของโซฟีนั้น จะพบว่า บรรพบุรุษที่แท้จริงของโซฟีที่ได้สืบเชื้อสายมานั้นคือ เค้านท์อัลเบรชท์ที่ 4 แห่งฮับส์บูร์ก ซึ่งเป็นเค้านท์แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ดังนั้น โซฟีและอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์เป็นพระญาติกันโดยไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงมองย้อนบรรพบุรุษของโซฟีมากกว่านี้ ก็จะทรงทราบว่า โซฟีก็เป็นสมาชิกราชวงศ์ฮับส์บูร์กเช่นกัน...
ด้วยความที่อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ทรงหลงรักพระนางหัวปักหัวปำ พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะทรงอภิเษกสมรสกับสตรีคนใดเลย สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียและสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี ทรงร่วมมือกันเจรจากับสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ โดยพระองค์ทรงกังวลว่าอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์จะทำให้พระราชวงศ์เสื่อมเสีย หลังจากที่ทั้ง 2 พระองค์ทรงมีปากเสียงกันมาก่อนหน้านี้แล้ว
แต่ในที่สุด อีก 1 ปีต่อมา สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟมีพระบรมราชานุญาตให้อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์สามารถอภิเษกสมรสกับโซฟีได้ แต่ทรงมีข้อแม้ว่าการอภิเษกสมรสครั้งนี้จะเป็นการสมรสแบบนอกระบบ กล่าวคือไม่ได้อยู่ในกฎมณเฑียรบาล โดยเป็นการแต่งงานของชายที่สูงศักดิ์กับหญิงต่ำต้อยกว่า เมื่อทรงมีทายาท พระราชบุตรของทั้งสองจะไม่มีสิทธิ์ในการขึ้นครองราชย์และจะไม่มีสิทธิ์อยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์อีกด้วย และนอกจากนี้ เมื่ออภิเษกสมรสกันแล้ว โซฟีผู้เป็นฝ่ายหญิงจะไม่มีสิทธิ์ในการดำรงพระอิสริยยศของพระสวามี (พระองค์ทรงเป็นอาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย-เอสต์ และดยุกแห่งโมเดน่า ดังนั้น พระนางก็จะไม่มีสิทธิ์เป็นอาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย-เอสต์ และดัชเชสแห่งโมเดน่าอีกด้วย) และเมื่อปรากฏต่อสาธารณชน โซฟีก็จะไม่มีสิทธิ์ที่จะปรากฏตัวต่อสาธารณชนเคียงข้างผู้เป็นพระสวามี และก็จะไม่มีสิทธิ์นั่งบนพระราชรถขบวนเสด็จอีกด้วย จนกว่าสมเด็จพระจักรพรรดิจะทรงอนุญาต
ทั้งสองทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 ณ เมืองไรช์สตัดท์ (ปัจจุบันคือเมืองซาคูพาย) โบฮีเมีย โดยอภิเษกสมรสครั้งนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟไม่ทรงเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย ไม่มีแม้แต่พระอนุชาและพระขนิษฐาของพระองค์เลย จะมีก็แต่อาร์ชดยุกและอาร์ชดัชเชสบางพระองค์เท่านั้น รวมไปถึงพระมารดาทูนหัวของพระองค์ อาร์ชดัชเชสมาเรีย เมเรซ่าและพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ การอภิเษกสมรสครั้งนี้ถือเป็นการอภิเษกสมรสแบบเงียบๆ หลังจากการอภิเษกสมรส โซฟีได้รับพระราชทานพระยศเป็น เจ้าหญิงแห่งโฮเฮนเบิร์ก (อังกฤษ: Her Serene Highness The Princess of Hohenberg, เยอรมัน: Ihre Durchlaucht F?rstin von Hohenberg) และต่อมาในปีพ.ศ. 2452 โซฟีได้ดำรงพระอิสริยศักดิ์สูงขึ้นเป็น ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์ก (อังกฤษ: Her Highness The Duchess of Hohenberg, เยอรมัน: Ihre Hoheit Herzogin von Hohenberg) โดยพระยศนี้อาจจะทำให้โซฟีดูสูงศักดิ์ขึ้น แต่ก็ยังให้ความสำคัญน้อยเช้นเดิม อย่างเช่นเมื่อมีงานเลี้ยงพบปะของพระราชวงศ์อิมพีเรียล โซฟีก็ถูกแยกให้อยู่ห่างพระสวามีของพระองค์
อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์และดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์กมีพระธิดา 1 พระองค์ และพระโอรส 2 พระองค์ โดยทุกพระองค์นี้มิได้ทรงดำรงอยู่ในราชวงศ์ฮับส์บูร์กเลย ไม่ว่าจะเป็นราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน หรือฮับส์บูร์ก-โลทรินเจน แต่ทุกพระองค์จะทรงดำรงในราชสกุลใหม่คือ โฮเฮนเบิร์ก (von Hohenberg) จึงถือได้ว่าอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ทรงเป็นต้นราชสกุลโฮเฮนเบิร์ก
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2457 นายพลออสการ์ โพทิโอเร็ค ผู้ว่าการรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ได้เชิญอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอณืดินานด์ และดัชเชสโซฟีมาทอดพระเนตรกองทัพของบอสเนีย โดยอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ทรงทราบดีว่า การเสด็จพระราชดำเนินเยือนบอสเนียครั้งนี้จะมีอันตรายอย่างใหญ่หลวง เพราะเนื่องจากชาวบอสเนียไม่อยากอยู่ในการปกครองของออสเตรีย โดยอยากจะเข้าร่วมกับกลุ่มสหภาพของเซอร์เบีย
โดยปกติแล้ว โซฟีมักจะไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติพระกรณียกิจร่วมกับพระสวามี เนื่องจากมีข้อแม้ว่า เมื่ออภิเษกสมรสแล้ว จะไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติพระกรณียกิจพร้อมกับพระสวามี ถึงแม้จะมีศักดิ์เป็นถึงพระชายาขององค์รัชทายาทก็ตาม แต่การเสด็จพระราชดำเนินเยือนบอสเนียครั้งนี้ พระสวามีมีพระบรมราชานุญาตให้พระชายาเสด็จตามไปด้วย ทำให้พระนางปลาบปลื้มในตัวพระสวามีเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านจากพระบรมวงศานุวงศ์ก็ตาม
ขณะที่ทั้ง 2 พระองค์เสด็จเยือนอยู่นั้น ได้มีประชาชนชาวบอสเนียได้ออกมารอรับเสด็จเพื่อชื่นชมพระบารมีของทั้ง 2 พระองค์ จนเมื่อเวลา 10 นาฬิกา 10 นาที ขณะที่ขบวนรถพระที่นั่งกำลังเคลื่อนตัวมาจากสถานีตำรวจซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของบอสเนีย ได้มีผู้ขว้างระเบิด 2 ลูก ปามายังขวนรถพระที่นั่ง ระเบิดได้ลอยผ่านรถพระที่นั่งของทั้ง 2 พระองค์ไป แล้วเกิดระเบิดขึ้นด้านหลังรถพระที่นั่ง เป็นเหตุให้ทหาราชองครักษ์ได้รับบาดเจ็บ 2 นาย รวมทั้งประชาชนจำนวนหนึ่ง จากนั้น ขบวนรถพระที่นั่งได้เคลื่อนตัวมาถึงศาลากลางซาราเยโว อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ได้ทรงถามถึงเหยื่อผู้ประสบภัยจากระเบิดเมื่อสักครู่ โดยพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเหยื่อผู้ร้ายจากเหตุระเบิดเมื่อสักครู่ ราชเลขาของอาร์ชดยุก บารอนมอร์ซี่ ได้ให้คำแนะนำอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ว่าไม่ควรเสด็จพระราชดำเนินตอนนี้ เนื่องจากมีเหตุอันตรายมาก แต่ผู้ว่าการบอสเนียได้โต้ค้าน โดยถามว่า "Do you think Sarajevo is full of assassins?" คุณคิดว่าซาราเยโวเต็มไปด้วยพวกอาชญากรงั้นหรือ? แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ทรงตัดสินใจแล้วว่า จะเสด็จเยี่ยมผู้เคราะห์ร้ายที่โรงพยาบาล ส่วนดัชเชสโซฟี บารอนมอร์ซี่ได้แนะนำให้รอพระสวามีในศาลากลาง แต่พระองค์ทรงค้านว่า "As long as the Archduke shows himself in public today I will not leave him." ข้าพเจ้าจะไม่มีวันทิ้งสวามีของข้าพเจ้าให้เดียวดาย ดังนั้น พระองค์จึงเสด็จพระดำเนินตามพระสวามีไป...
ขณะที่ขบวนรถพระที่นั่งกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่โรงพยาบาลซาราเยโวนั้น ผู้ว่าการบอสเนียได้เห็นว่าขบวนรถได้ไปผิดทาง แทนที่จะตรงไปยังสะพานหินแอ๊ปเปิ้ล และสะพานละตินเพื่อเข้าสู่โรงพยาบาล แต่ขวบนรถได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ถนนฟรานซ์ โจเซฟ ขบวนรถได้หยุดชะวักเพื่อเตรียมถอยรถเข้าสู่ถนนหลักอีกครั้ง แต่ในขณะที่ขบวนรถได้กำลังเข้าสู่ถนนหลักนั้น มี 1 ในสมาชิกกลุ่มลอบปลงพระชนม์จากเซอร์เบียคนหนึ่งได้เห็นทั้ง 2 พระองค์กำลังนั่งอยู่ในราชรถ ชายนักลอบสังหารได้ทีจึงเล็งปืนยิงหลายนัดไปที่ทั้ง 2 พระองค์ทันที โดยยิงเข้าไปที่ทั้ง 2 พระองค์หลายนัดด้วยกัน เป็นเหตุให้อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์และดัชเชสโซฟีสิ้นพระชนม์ในรถพระที่นั่งทันที
พระศพของทั้ง 2 พระองค์ได้ถูกเคลื่อนนำจากบอสเนีย มายังกรุงเวียนนา เพื่อทำพิธีพระศพตามโบราณราชประเพณี พระศพอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์และดัชเชสโซฟีถูกฝังไว้ที่ปราสาทอาร์ทสเต็ทเท็น ซึ่งเป็นพระราชฐานของราชสกุลโฮเฮนเบิร์ก
หลังจากการสิ้นพระชนม์ของทั้ง 2 พระองค์เป็นเหตุให้ออสเตรียประกาศสงครามกับเซอร์เบีย เป็นเหตุให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1ทันที
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/โซฟี_ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์ก